ประวัติหลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ
ประวัติหลวงพ่อ พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดบางบ่อ ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการเดิมชื่อ ชาญ รอดทอง เกิดวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2457 ที่ตำบลเกาะไร่ อำเภอบางโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียนจบชั้น ป.5 จากโรงเรียนอภัยพิทยาคาร ( วัดแก้วพิจิตร) จังหวัดปราจีนบุรี กลับมาช่วยบิดามารดาทำนากระทั่งอายุครบบวชได้อุปสมบทที่วัดคลองสวน ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ที่เป็นบ้านเกิด และไปจำพรรษาที่วัดนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบ่อ เมื่อ พ.ศ. 2510 และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. 2511 และได้เป็นเจ้าคณะอำเภอบางบ่อเมื่อ พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2541 ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางบ่อ ผลงานที่ได้ปฏิบัติตั้งแต่เป็นเจ้าอาวาสวัดบางบ่อ กระทั่งถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2548 ส่วนใหญ่ คือ เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชพระเณรเป็นจำนวนมาก นับได้มากกว่า 5,000 รูป เนื่องจากท่านเป็นผู้มีคุณธรรมและปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย มีอัธยาศัยดีต่อทุกคนเสมอเหมือนกัน จึงเป็นที่นับถือ และเลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนทั่วไปจะเห็นได้จากการบวชพระตามวัดต่างๆ ถึงแม้ว่าวัดนั้นจะมีพระอุปัชฌาย์อยู่แล้วผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อท่านยัง ได้นิมนต์ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ นอกจากนั้นยังได้ปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เช่นการพัฒนาวัด อุดหนุนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนรับกิจนิมนต์โดยไม่ปฏิเสธหากมี เวลา ปี พ.ศ. 2548 พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ มีอายุครบ 91 ปี 72 พรรษา เป็นพระครูชั้นพิเศษ ปัจจุบันท่านมีอายุ (3 เม.ย. 2553) 96 ปี 77 พรรษาไ ดัรับพระราชทาน ดำรงตำแหน่งท่านเจ้าคุณพระมงคลวรากร ใน วันที่ 5ธ.ค. 2551 ที่ผ่านมามีอาวุโสสูงสุด ยังมีสุขภาพแข็งแรงปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นปกติ เป็นที่นับถือของศิษยานุศิษย์ ทั้งในอำเภอบางบ่อ และใกล้เคียง
ที่มาของข้อมูล สวัสดี สวัสดีบางบ่อ
พระปฏิบัติดี วิชาดีรูปต่อไปนี้คือ หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ สมุทรปราการ อายุ 92 ปี (ปัจจุบันอายุ 95 ปี) เป็นศิษย์ หลวงพ่อไผ่ วัดบางบ่อซึ่งเป็นศิษย์ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน อีกที ท่านจึงรับวิชามาจากอาจารย์รุ่นต่อรุ่นเต็มที่ นอกจากนั้น หลวงพ่อชาญ ยังเรียน กัมมัฏฐาน 40 กอง จาก หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา กัมมัฏฐาน เป็นวีธีฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็เกิดปัญญา และมองได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง มี เกิด แก่เจ็บ ตาย สรุปคือ ไม่มีอะไรเลย เพื่อให้ ปลง และหลุดพ้น การเรียนกัมมัฏฐาน แบ่งเป็นหลายวิธี เช่น อสุภกัมมัฏฐาน(นั่งพิจารณาซากศพให้ได้คิดว่าก่อนนี้คือร่างกายที่เคยสวยงาม แต่ตายแล้วก็เหม็นเน่า) นอกนั้นยังมี กสิณ10, อนุสติ 10 ซึ่งล้วนเป็น อุบายพื้นฐาน ทำให้ จิตสงบ นำไปสู่นิพพาน กัมมัฏฐาน 40 กอง เป็นพระปรีชาของพระพุทธเจ้าที่ทรงทราบกิเลสของพระสาวกว่าไม่เหมือนกัน บางรูปอยากแสดงฤิทธิ์ บางรูปอยากอยู่เงียบๆจึงมีวีธีให้เลือกตามอัธยาศัย แต่สุดท่ายก็ มุ่งพระนิพพานเหมือนกัน หลวงพ่อชาญ ยังเรียน วิชาธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ จาก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ซึ่งสามารถแสดงฤทธิ์ เรียกน้ำ-ห้ามไฟได้ นายนๆครั้งหลวงพ่อชาญจะสร้างวัตถุมงคลที่ดังคือ เสือแกะจากไม้พญางิ้วดำ เพราะมีประสบการณ์ที่ปืนยิงไม่เข้า แต่ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้น้อยและไม่เป็นวาระทุกวันนี้จึงหายาก ใครไปก็กราบขอพรท่านถือว่าสูงสุดแล้ว อย่าไปรบกวนท่านให้เหนื่อยสร้างโน่นสร้างนี่อีกเลย อายุตั้ง 92 แล้ว(ปัจจุบันอายุ 95 ปี)
ที่มาของข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2549 :สนามพระวิภาวดี ,กราบ 9 พระดีเป็นศิริมงคล สีกาอ่าง .
จากใจผู้เขียน
หลวงพ่อชาญ อิณมุตฺโต พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ พระมงคลวรากร หรือ หลวงพ่อใหม่ คืออริยะบุคลคนเดียวกันที่เรารู้จักกันในนาม หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อท่านเป็นลูกศิษย์สายหลวงพ่อปาน วัดคลองด่านโดยแท้ เริ่มจากหลวงพ่อไผ่ท่านได้เรียนวิชากับหลวงพ่อปาน จากนั้น หลวงพ่อชาญก็เรียนวิชาจากหลวงพ่อไผ่ และยังเป็นศิษย์ หลวงพ่อเหลือวัดสาวชะโงก เป็นศิษย์ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เป็นศิษย์ หลวงพ่อดิ่งวัดบางวัว การสร้างวัตถุมงคลของท่านนานๆท่านจะสร้างเป็นวาระสักครั้งหนึ่ง เช่นพระเหรียญและพระผง 80 ปี เหรียญนั่งเสือ เสือหล่อ เสือไม้แกะและ อื่นๆเป็นต้น แต่โดยส่วนมากญาติโยมจะมาขอสร้างท่านก็เมตตาอนุญาตให้จัดสร้าง หลวงพ่อชาญท่านเกิดในสมัย ร.6 ซึ่งในปัจจุบัน(3เม.ย. 2553) หลวงพ่อมีอายุครบ 96 ปี 77 พรรษาสุขภาพท่านยังแข็งแรง ยังรับกิจนิมนต์อยู่และยังเดินทางไปพุทธาภิเศกในวาระต่างๆอยู่เป็นนิจ หลวงพ่อจะนั่งรับญาติโยมตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงวันกว่าๆแล้วท่านจะจำวัดและ จะรับญาติโยมอีกครั้งประมาณบ่ายสามโมงครึ่งเป้นต้นไปจนถึงเย็น
หลายท่านที่เคยเคยเข้ากราบนมัสการหลวงพ่อจะสังเกตุว่าหลวงพ่อชาญท่านสักยันต์ที่ต่างๆของร่างกาย
หลวงพ่อเมตตาเล่าให้ฟังว่าเหตุที่สักยันต์เพราะสัก”กันงู “เนื่อง จากพื้นที่บางบ่อและพื้นที่ใกล้เคียงในสมัยก่อนนั้นเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ ประกอบกับมีเจดีย์เก่าเป็นจำนวนมากทำให้มีงูอาศัยอยู่อย่างชุกชุม หลวงพ่อได้สักยันต์กันงูกับหมอเที่ยง ซึ่งเป็นฆารวาสเป็นบุคคลที่มีวิชาอาคมหรือมี่เรียกกันว่า หมองูเที่ยง
หมองูเที่ยงเป็นคนบางบ่อมีอาชีพจับงูขายแขนทั้งสองข้างของหมองูเที่ยงจะสัก ยันต์กันงู แกจะนอนตามวัดหรือนอนในเรือ(ปัจจุบันหมอเที่ยงได้เสียชีวิตไปแล้ว และมีลูกคนหนึ่งที่บางบ่อ) แกจะร่องเรือมานอนที่วัดบางบ่อมีพระเณรรวมทั้งคนทั่วไปมาขอสักยันต์กันงูกับ หมอเที่ยง หนึ่งในนั้น มีหลวงพ่อชาญ(ตอนนั้นหลวงพ่อท่านย้ายมาวัดบางบ่อแล้ว)มาสักต์กันงูด้วย หมอเที่ยงแกเคยโดนงูกัดที่มือจนมือหงิกงอแต่แกก็ไม่ได้รับอันตารยถึงชีวิต ในสมัยก่อนหมอเที่ยงแกใช้เรือแบบที่เปิดท้องเรือได้(ไม่แน่ใจว่าเรียกชือ เรือว่าอะไร) พอแกจับงูเห่าได้แกจะขังรวมกันไว้ใต้ท้องเรือวันดีคืนดีหมอเที่ยงจะเอางูที่ขังไว้เป็นจำนวนมากออกมาโยนลงน้ำ เพื่อให้งู(อาบ)เล่นน้ำ แล้วจับใส่เรือเหมือนเดิม
ต่อจากนั้นหมอเที่ยงจะเอางูไปขายที่ “เสาวภา” ทราบมาว่าในสมัยนั้นจะนำงูไปรีดพิษ เพื่อทำเซรุ่ม หลวงพ่อเล่าต่อให้ฟังว่า หมอเที่ยงเดิมคือ “เสือเที่ยง”เป็นสหายเดียวกับ เสือไท เสือหา เคยออกปล้นแต่ไม่เตยฆ่าใคร ไม่ทราบปั้นปลายชีวิตของหมอเที่ยงที่แน่นนอน